จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

มาตรา 5 การกระทำที่ถือว่าทำผิดในราชอาณาจักร

มาตรา 5  ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำในราชอาณาจักรก็ดี  ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักรโดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือโดยลักษณะแห่งการกระทำ ผลที่เกิดขึ้นควรเกิดในราชอาณาจักร หรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดในราชอาณาจักรก็ดีให้ถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร
ในกรณีการตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำการใดซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด  แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จ  ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่า การตระเตรียมการหรือพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร


-          เปรียบเทียบ ม 5 องค์ประกอบที่ (1) และ (2)
-          สรุป (อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ..2538)
-          ทำผิด บางส่วนนอกประเทศ บางส่วนในประเทศ ใช้ มาตรา 5 วรรค 1 เช่น ยิงเข้า ประเทศ แล้วไม่ถูก หรือถูกแต่ไม่ตาย (อก/36)
-          ทำผิด นอกประเทศ ทั้งหมด แต่ ผลจะเกิดใน ประเทศ ใช้ มาตรา 5 วรรค 2 เช่น จะยิงเข้า ประเทศ ถูกจับก่อน (อก/36)
-          วางยานอกประเทศ ปลดทรัพย์ใน ประเทศ ใช้ มาตรา 5 วรรค 1 ผิด ชิงทรัพย์ ตามมาตรา 339 ใช้ มาตรา 5 วรรค 1 (อก/36)
-          พรากในประเทศ ชำเรานอกประเทศ ผิด มาตรา 319 วรรค 1 ใช้ มาตรา 5 วรรค 1 (อก/36)

-          มาตรา 5 วรรค 1
-          ส่วนหนึ่งส่วนใด ได้กระทำในราชอาณาจักร
-       ผลแห่งการกระทำ เกิดในราชอาณาจักร…” คือ ต้องเกิดผลแล้ว เช่น รู้ว่าจะเข้าราชอาณาจักร จึงยิงขณะกำลังเข้าราชอาณาจักร แล้วตายในราชอาณาจักร (อก/36) / ถ้าผลจะเกิด ใช้ มาตรา 5 วรรค 2 เช่น ถูกยิงจากนอกราชอาณาจักร เข้ามาในราชอาณาจักร แล้วไม่ตาย (อก/37)
-          ประสงค์ให้ผลเกิดใน เรือไทยไม่ใช้ มาตรา 5 วรรค 1 (อก/37)

-          มาตรา 5 วรรค 2 ผลจะเกิดต้องยังไม่เกิด ถ้าผลเกิด ทำในราชอาณาจักรใช้ ม 4 “ทำนอกราชอาณาจักรใช้ มาตรา 5 วรรค 1 (อก/38)
-          รู้ว่าผู้เสียหายจะเข้าราชอาณาจักร ล ให้กินยาพิษ หากผู้เสียหายตายในราชอาณาจักร ใช้ มาตรา 5 วรรค 1 หากผู้เสียหาย ไม่กินยาพิษ ใช้ มาตรา 5 วรรค 2 (อก/38)
-          ยืนอยู่นอกราชอาณาจักร เล็งปืนมาในราชอาณาจักร ถูกจับก่อนยิง ใช้ มาตรา 5 วรรค 2 ผิด มาตรา 80+288 (อก/38)
-       มาตรา 5 วรรค 1 ความผิดเกิด เช่น ยิงกันนอกราชอาณาจักร โดยรู้ว่าผู้จะถูกยิงกำลังจะเข้ามาในราชอาณาจักร หากตายในราชอาณาจักร ใช้ มาตรา 5 วรรค 1 หากไม่ตาย ผิด ม 80+288 ใช้ มาตรา 5 วรรค 2 (อก/38)

-          สรุป (อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ..2538 /39)
-       หาก การกระทำส่วนหนึ่งในราชอาณาจักร ใช้ มาตรา 5 วรรคแรก ไม่ต้องดูผลว่าเกิดที่ไหน หากไม่ทำในราชอาณาจักรเลย แต่ผลเกิดในราชอาณาจักร ใช้ มาตรา 5 วรรค 1 หากผลไม่เกิด แต่จะเกิดในราชอาณาจักร ใช้ มาตรา 5 วรรค 2
-       การตระเตรียมฯ ในราชอาณาจักร เพื่อกระทำผิด นอกราชอาณาจักรลงโทษได้เมื่อ (1) การตระเตรียมนั้นเป็นความผิด และ (2) ความผิดนั้นลงโทษได้ แม้ทำนอกราชอาณาจักร (มาตรา 7 - 9) (อก/39)
-       การตระเตรียมฯ ในราชอาณาจักรเพื่อทำผิดตาม มาตรา 218 “นอกราชอาณาจักรลงโทษได้เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ มาตรา 8 โดยใช้ + มาตรา 4 แต่หากไม่เข้า มาตรา 8 ลงโทษไม่ได้ ความเห็น (อก/40)
-       การลงมือพยายามกระทำความผิด ในราชอาณาจักรเพื่อทำผิด นอกราชอาณาจักรลงโทษ มาตรา 80 ได้ ใช้ มาตรา 4 ต่างกับ การตระเตรียมทำผิดซึ่งไม่ใช่ส่วนหนึ่งของความผิด (อก/40)
-          การตระเตรียมการที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและมีโทษ มาตรา 107 – 110 , มาตรา 128 , มาตรา 219

-          คำพิพากษาฎีกา
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 3854/2525 สถานีรถไฟปาดังเบซาร์อยู่ในประเทศมาเลเซีย ห่างเขตแดนประเทศไทย 500 เมตร ภายในสถานีมีด่านศุลกากรของไทยและมาเลเซีย เมื่อเวลา 8 นาฬิกา นายตรวจศุลกากรประจำด่านของไทยยึดเห็ดหอม ไม่ปรากฏเจ้าของมาจากที่ทำงานพนักงานตรวจรถไฟ ซึ่งอยู่ติดสถานีเพื่อเก็บในด่านศุลกากร ขณะรอคนเปิดประตูห้อง จำเลยเข้ามาแสดงตัวเป็นเจ้าของขอคืน แล้วเกิดทำร้ายกันขึ้น เมื่อเป็นความผิดตามกฎหมายภาษีศุลกากรกับความผิดซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน คือต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และเอาของกลางไป ดังนี้ ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ / จำเลยนำเห็ดหอมไปวาง ณ ที่ทำการพนักงานตรวจรถไฟ ยังไม่เป็นความผิดฐานนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 แม้เพียงขั้นพยายามกระทำผิด และเมื่อไปนำกลับคืนมาจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. ม.142
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 1586/2526 จำเลยกับพวกบังคับหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายชาวมาเลเซียเพื่อเรียกค่าไถ่ และบังคับให้ผู้เสียหายขับรถไปส่งยังชายแดนประเทศไทยซึ่งน่าจะได้ควบคุมเข้าไปในเขตแดนไทยด้วย เพราะภูมิลำเนาของจำเลยกับพวกอยู่ในราชอาณาจักร จึงเป็นความผิดต่อเนื่อง ทั้งในและนอกราชอาณาจักรพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ซึ่งจับจำเลยจึงมีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยได้
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 1645/2531 เมื่อการกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เริ่มขึ้นตั้งแต่จำเลยพาผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ที่ปากซอยหน้าบ้าน ในประเทศไทย แม้จำเลยจะไปร่วมประเวณีกับผู้เสียหายที่ประเทศญี่ปุ่น การกระทำของจำเลยส่วนหนึ่งก็ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้ว  โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 5 Ø แม้ผู้เสียหายจะยอมให้ร่วมประเวณีซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มขืนกระทำชำเราก็ตาม แต่การที่จำเลยพาผู้เสียหายซึ่งมีอายุยังไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ก็เป็นการล่วงละเมิดต่ออำนาจปกครองของบิดามารดาขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 38 ปี และมีภริยาอยู่แล้ว ไม่ได้มีเจตนาจะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319 วรรคหนึ่งแล้ว

-          คำพิพากษาฎีกา
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 5103/2528 (ลองตรวจดูฎีกาเต็ม ว่าออกเช็คในประเทศ เป็นเช็คธนาคารไทย สาขาไทเป) การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ นั้น หากจำเลยออกเช็คในท้องที่เขตลาดกระบัง และอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลจรเข้น้อยแล้ว  ย่อมต้องถือว่าจำเลยได้กระทำผิดอาญาลงในท้องที่ดังกล่าว ต่อเนื่องกับการกระทำผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลจรเข้น้อยให้สอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย  พนักงานสอบสวนดังกล่าวย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้ตาม ป.ว.อ. ม.19 (3) เมื่อท้องที่ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลดังกล่าวย่อมมีอำนาจที่จะชำระคดีนี้ได้ตาม ม.22
-          2070/2542 (ลองตรวจดูฎีกาเต็ม ว่าออกเช็คในประเทศ เป็นเช็คธนาคารไทย สาขาไทเป)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น