มาตรา 3 ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้
(1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล เมื่อผู้กระทำความผิด หรือผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงานอัยการร้องขอ ให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ในการที่ศาลจะกำหนดโทษใหม่นี้ ถ้าปรากฏว่าผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาบ้างแล้ว เมื่อได้คำนึงถึงโทษตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง หากเห็นเป็นการสมควรศาลจะกำหนดโทษน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังกำหนดไว้ถ้าหากมีก็ได้ หรือถ้าเห็นว่าโทษที่ผู้กระทำความผิดได้รับมาแล้วเป็นการเพียงพอ ศาลจะปล่อยผู้กระทำความผิดไปก็ได้
(2) ถ้าศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไม่ถึงประหารชีวิต ให้งดการประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และให้ถือว่าโทษประหารชีวิตตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนเป็นโทษสูงสุดที่จะพึงลงได้ ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง
- การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1292/2500 (อพ/2) กฎหมายใหม่และเก่า โทษเท่ากัน ศาลใช้กฎหมายขณะทำผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 665/2502 ผู้กระทำผิด 4 คนสมคบกันลักทรัพย์ที่ใช้สำหรับราชการ ในเวลาค่ำคืน ขณะใช้กฎหมายลักษณะอาญาอยู่ แต่เมื่อพิจารณาพิพากษาได้ใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว และมาตรา 335 มิได้บัญญัติว่าการลักของ ใช้ในราชการเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์ไว้ จึงจะลงโทษจำเลยตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 294 (4) ไม่ได้ ต้องลงโทษตาม ปอ มาตรา 293 (1) (11)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 602/2502 (อพ/2) พรบ ให้ใช้ ป อ ให้ยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อใช้ ป อาญา ไม่มุ่งหมายให้พ้นผิด เพราะ ป อาญา ยังบัญญัติเป็นความผิด / กฎหมายหมายใหม่ ไม่มีโทษขั้นต่ำ ใช้กฎหมายใหม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1303/2503 (อพ/2) กฎหมายเก่า โทษขั้นต่ำตั้งแต่ 5 ปี กฎหมายใหม่ไม่มีโทษขั้นต่ำ ใช้กฎหมายใหม่ เมื่อรับสารภาพ ไม่ต้องสืบพยานประกอบ (ประเด็น ปวิอ)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 815/2505 มาตรา 2 วรรค 1 วางหลักให้พิจารณาความผิดของจำเลย และลงโทษตามกฎหมาย ในขณะที่จำเลยกระทำอันถูกกล่าวหานั้น แม้ว่าได้มีการยกเลิกกฎหมายนั้นเสียแล้ว มาตรา 2 วรรค 2 และมาตรา 3 ก็ให้พิจารณาใช้กฎหมายใหม่ เฉพาะแต่เมื่อคุณแก่จำเลยเท่านั้น ถ้ากฎหมายใหม่ ไม่เป็นคุณแก่จำเลย ก็ยังใช้กฎหมายเก่าบังคับคดี / อัยการมีอำนาจ ขอให้ศาลสั่งทำลายต้นยางพาราซึ่งปลูกใหม่โดยมิได้รับอนุญาต และขอให้จำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการทำลายนั้นได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมยาง 2481 มาตรา 15 คำขอเช่นว่านี้เป็นคำขอทางอาญา หาใช่คำขอทางแพ่งไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1019-1021/2506 จำเลยปลอมหนังสือในหน้าที่ตน มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 225 มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิด แต่เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จึงต้องใช้ มาตรา 161 เป็นบทลงโทษ และในบทความผิดที่จะใช้แก่จำเลยนี้ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องฟังพยานโจทก์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2064/2520 จำเลยทำผิดก่อนประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 การลดโทษประหารชีวิตตาม ม.52 เดิม ลดลงเป็นจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 16 ปี ถึง 20 ปี เป็นคุณยิ่งกว่าประกาศคณะปฏิวัติ ข้อ 1 ซึ่งให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว ศาลต้องใช้ ม.52 เดิม
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2768/2523 จำเลยผิดสัญญาส่งตัวผู้ต้องหาไม่ได้ โจทก์จึงสั่งปรับ แม้ต่อมาจะมี พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ออกใช้บังคับ ก็ไม่กระทบถึงสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย เพราะนิรโทษกรรมให้เฉพาะความผิดทางอาญา ไม่รวมถึงความรับผิดในส่วน แพ่งไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2753/2540 โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทให้ ส. ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากส. แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาที่ ส. ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2597 ว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากจำเลยอันเป็นการออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว จำเลยย่อมมีความผิดฐานเบิกความเท็จ แต่เนื่องจากในขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2597 ซึ่งเป็นกฎหมายในคดีเดิมที่โจทก์ทั้งสองนำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว มี พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ออกมาใช้บังคับแทน ปรากฏว่ากฎหมายฉบับใหม่ที่ออกภายหลังการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแต่กรณีการออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2574 มาตรา 4 ดังนี้ คำเบิกความของจำเลยในคดีนั้น จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีนี้อันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
- กรณีไม่ใช่กฎหมายอันเป็นคุณแก่จำเลย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 779-780/2540 ทางสำหรับรถยนต์วิ่งเข้าออก ถือว่าเป็นอาคารตามความในมาตรา 4 (4) แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เมื่อใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารของจำเลยทั้งสาม กำหนดให้อาคารต้องมีทางสำหรับรถยนต์วิ่งเข้าและออกทางเดียว กว้างไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร ตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2517) ข้อ 8 ที่ว่า "ทางเข้าออกของรถยนต์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตรในกรณีที่จัดให้รถยนต์วิ่งได้ทางเดียว ทางเข้าและทางออกต้องกว้างไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร " แต่ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2528) ข้อ (2) (ก) ได้บัญญัติยกเว้นให้ความกว้างของทางสำหรับรถยนต์วิ่งเข้าและออก โดยนับจากตัวอาคารที่ก่อสร้างถึงแนวเขตที่ดินผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้ไม่เกินร้อยละห้าของความกว้าง 3.50 เมตร ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.174 เมตร เมื่อทางที่จำเลยทั้งสามทำไว้สำหรับรถยนต์วิ่ง มีความกว้างส่วนที่น้อยที่สุดเท่ากับ 3.20 เมตร การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยทั้งสามย่อมมีความผิด ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 31(1) จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 3 ผู้ดำเนินการให้มีการก่อสร้างอาคารต้องได้รับโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 3 ผู้ดำเนินการให้มีการก่อสร้างอาคารต้องได้รับโทษเป็นสองเท่าของโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ตามมาตรา 69 / จำเลยทั้งสามก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตมาแต่แรก การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตั้งแต่นั้นมาแล้ว แม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสามแก้ไขแบบแปลนได้ก็ตาม คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวมิใช่กฎหมาย จำเลยทั้งสามจึงไม่พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด / จำเลยทั้งสามทราบคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารวันที่ 31 ตุลาคม 2534 แต่จำเลยทั้งสามมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ถือว่าจำเลยทั้งสามฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 เป็นต้นไป / ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น มี พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับให้ยกเลิกความในมาตรา 65 และ 67 แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งมีระวางโทษแตกต่างจากเดิมอันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดอันมีทั้งคุณและโทษแก่ผู้กระทำความผิดซึ่ง ป.อ.มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เมื่อระวางโทษตามมาตรา 65 และ 67 เดิมเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสามยิ่งกว่ามาตรา 65 และ 67 ที่แก้ไขใหม่ จึงต้องนำมาตรา 65 และ 67 เดิมมาใช้บังคับ
หลักทั่วไปที่ประเทศต่างใช้ในการพิจารณาความอาญา (คดีอาชญากรสงครามไอค์มัน /112)
1. หลักอาญาเขต พิจารณาอำนาจศาลจากสถานที่เกิดการกระทำผิด
2. หลักสัญชาติ พิจารณาอำนาจศาลจากสัญชาติ หรือลักษณะของสัญชาติบุคคลซึ่งกระทำผิด
3. หลักคุ้มครอง พิจารณาอำนาจศาลจากส่วนได้เสียของชาติ ซึ่งถูกกระทบกระเทือนจากการกระทำผิด
4. หลักสากล พิจารณาอำนาจศาลจากการคุมขังบุคคลซึ่งกระทำความผิด
5. หลักตัวบุคลผู้เสียหาย พิจารณาอำนาจศาลจากสัญชาติ หรือลักษณะของสัญชาติบุคคล ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำผิด
- หลักพื้นที่ใช้บังคับกฎหมายอาญา (วรสารอัยการ ศ โกเมนฯ 19)
- หลักดินแดน กฎหมายอาญาใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดในอาณาจักรของรัฐ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นคนสัญชาติของรัฐ หรือคนต่างด้าว เพราะความผิดเกิดที่ใด ย่อมกระทบต่อความสงบเรียบร้อยในท้องที่นั้น และพยานหลักฐานย่อมมีอยู่ในที่เกิดการกระทำผิด มากกว่าที่อื่น / หลักนี้ เป็นหลักทั่วไป ส่วนหลักอื่นถือเป็นข้อยกเว้น หรือหลักรอง (เทียบกับ มาตรา 4)
- หลักอำนาจเหนือบุคคล บุคคลซึ่งถือสัญชาติของรัฐ (แม้บุคคลนั้นอยู่ในเขตแดนต่างประเทศ และได้รับความคุ้มครองทางการทูต) บุคคลนั้นต้องรับผิดต่อรัฐที่ตนถือสัญชาติ เพราะการทำผิดย่อมเสื่อมเสียชื่อเสียงและศักดิ์ศรีของรัฐที่ผู้นั้นถือสัญชาติ และในทางตรงกันข้าม หากบุคคลของรัฐได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดอาญา จากผู้อื่นในเขตแดนของรัฐอื่น รัฐก็ถืออำนาจคุ้มครองบุคคลสัญชาติของตน เป็นการใช้อำนาจลงโทษตามตัวบุคคล (เทียบ มาตรา 8 และ 9)
- หลักความร่วมมือระหว่างรัฐ สำหรับความผิดร้ายแรงบางประเภท เช่น โจรสลัด การปลอมแปลงเงินตรา การค้าหญิงและเด็ก และการค้ายาเสพติด ซึ่งเป็นภัยแก่ส่วนรวม รัฐที่ผู้กระทำผิดถูกจับได้ในเขต มีอำนาจลงโทษโดยไม่ต้องคำนึงถึงสัญชาติของผู้ทำผิด หรือผู้เสียหาย และไม่ต้องคำนึงถึงสถานที่ความผิดเกิด (เทียบ มาตรา 7)
โครงสร้างเรื่องเงื่อนไขการลงโทษ
- กฎหมายที่จะใช้ลงโทษ มาตรา 2 - 3
- บุคคลที่จะต้องรับโทษหลัก
หลักดินแดน มาตรา 4
หลักดินแดน มาตรา 4
ขยายหลักดินแดน มาตรา 5 - 6
หลักอื่น หลักป้องกันตน , ป้องกันเศรษฐกิจ และความผิดสากล มาตรา 7
หลักอื่น หลักป้องกันตน , ป้องกันเศรษฐกิจ และความผิดสากล มาตรา 7
หลักบุคคล มาตรา 8 , 9
- หลักในการไม่ลงโทษซ้ำซ้อน ในความผิดเดียวกัน มาตรา 10–11
- เงื่อนไขการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย มาตรา 12–16
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น