จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

มาตรา 17 การใช้ ป.อาญา กับ กม.อื่น

มาตรา 17                บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น




-       มาตรา 17         การใช้ประมวลกฎหมายอาญา กับกฎหมายอื่น เกี่ยวกับการริบทรัพย์
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 485/2493 ฟ้องคดีอาญานั้น กฎหมายบังคับให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บัญญัติให้อ้างบทมาตราที่บัญญัติให้ริบของกลางด้วยไม่ ฉะนั้นแม้จะไม่ได้อ้างมา ศาลก็มีอำนาจริบได้ในเมื่อโจทก์มีคำขอไว้แล้ว þ ...มาตราชั่วตวงวัด ได้มีบทบัญญัติในเรื่องการริบและการยึดไว้แล้ว ดังจะเห็นได้ตามมาตรา 24 และ 38 ย่อมเห็นเจตนารมย์ของ พ...นี้ได้ว่า ไม่ประสงค์ที่จะให้นำมาตรา 27, 28 แห่งก..ลักษณะอาญามาใช้บังคับแก่กระทำผิดใด ๆ ตาม พ...นี้อีก ในเมื่อการกระทำนั้น ๆ ไม่เป็นผิดตาม ก..ลักษณะอาญาด้วย
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 176/2506 การสั่งริบไม้ของกลางในความผิดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญา / ขนไม้ท่อนอันเป็นไม้หวงห้าม ไม่มีรอยตราที่กฎหมายระบุไว้บรรทุกรถยนต์มาจากป่า อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 69 รถยนต์ที่ใช้ขนไม้ ย่อมเป็นยานพาหนะ ซึ่งได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดต้องริบตาม มาตรา 74 ทวิ.
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 1810/2517 þ พ.ร.บ.ป่าไม้ มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา บุคคลภายนอกคดีย่อมใช้สิทธิตาม มาตรา 36 ขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ถูกริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ได้
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 3118/2528 þ แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแล้ว ศาลก็นำ ป.อ. ม.33 มาใช้บังคับในการที่จะริบทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดได้ ตาม ป.อ. ม.17 ซึ่งตาม ม.33 เป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของศาล เมื่อบรรทุกเกินปริมาณที่กฎหมายอนุญาตเพียงเล็กน้อย จึงไม่ควรริบรถยนต์ของกลาง / รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ฟืน ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามเกินประมาณที่กฎหมายอนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.29 ทวิ ศาลจะสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.74 ทวิ ไม่ได้ เพราะ ม.74 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติให้ริบทรัพย์ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม ม.29 ทวิ

มาตรา 12-16 วิธีการเพื่อความปลอดภัย

-          มาตรา 12 - มาตรา 16
-          หลักในการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย
-          ต้องมีกฎหมายกำหนดเงื่อนไขให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยได้
-          กฎหมายดังกล่าว ต้องเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ศาลพิพากษา
-          ต่างกับกฎหมายที่ใช้ลงโทษ ซึ่งให้ใช้กฎหมายขณะกระทำผิด
-       กฎหมายกำหนดเงื่อนไขให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย จึงมีลักษณะบัญญัติให้ใช้บังคับกับการกระทำที่เกิดก่อนที่จะมีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยได้

มาตรา 12                วิธีการเพื่อความปลอดภัยจะใช้บังคับแก่บุคคลใดได้ ก็ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ใช้บังคับได้เท่านั้น และกฎหมายที่จะใช้บังคับนั้นให้ใช้กฎหมายในขณะที่ศาลพิพากษา
มาตรา 13                ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ได้มีการยกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยใด และถ้าผู้ใดถูกใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นอยู่ ก็ให้ศาลสั่งระงับการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นเสีย เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้นั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงานอัยการร้องขอ
มาตรา 14                ในกรณีที่มีผู้ถูกใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยใดอยู่ และได้มีบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่จะสั่งให้มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นไป ซึ่งเป็นผลอันไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีของผู้นั้นได้ หรือนำมาใช้บังคับได้แต่การใช้ แต่การใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้นั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาล ให้ยกเลิกการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย หรือร้องขอรับผลตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น แล้วแต่กรณี ให้ศาลมีอำนาจสั่งตามที่เห็นสมควร
มาตรา 15                ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษใดได้เปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย และได้มีคำพิพากษาลงโทษนั้นแก่บุคคลไว้ ก็ให้ถือว่าโทษที่ลงนั้นเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยด้วย
ในกรณีดังกล่าวในวรรคแรก ถ้ายังไม่ได้ลงโทษผู้นั้น หรือผู้นั้นยังรับโทษอยู่ ก็ให้ใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้นั้นต่อไป และถ้าหากว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง มีเงื่อนไขที่จะสั่งให้มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยอันไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีของผู้นั้น หรือนำมาใช้บังคับได้แต่การใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้นั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาล ให้ยกเลิกการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย หรือร้องขอรับผลตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นแล้วแต่กรณี ให้ศาลมีอำนาจสั่งตามที่เห็นสมควร
มาตรา 16                เมื่อศาลได้พิพากษาให้ใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใดแล้ว ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำเสนอของผู้ร้องนั้นเอง ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงานอัยการว่า พฤติการณ์เกี่ยวกับการใช้บังคับนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ศาลจะสั่งเพิกถอนหรืองดการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้นั้นไว้ชั่วคราว ตามที่เห็นสมควรก็ได้

มาตรา 11 การลงโทษ เมื่อได้รับโทษหรือบางส่วนจากศาลต่างประเทศมาแล้ว

มาตรา 11  ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ถ้าผู้นั้นได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้นตามคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศมาแล้วทั้งหมด หรือแต่บางส่วนศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่า ได้กระทำในราชอาณาจักร ได้ถูกฟ้องต่อศาลในต่างประเทศโดยรัฐบาลไทยร้องขอ ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีกถ้า
(1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้นหรือ
(2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว


มาตรา 10 การลงโทษโดยยึดคำพิพากษาศาลต่างประเทศ

มาตรา 10  ผู้ใดกระทำการนอกราชอาณาจักรซึ่งเป็นความผิดตามมาตราต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 7 (2) และ (3) มาตรา 8 และมาตรา 9ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า
(1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้นหรือ
(2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว
ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้นตามคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศมาแล้ว แต่ยังไม่พ้นโทษ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว


-          หลักกฎหมาย Not twice for the same / Non bis in idem / double jeopardy

-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 10
-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 10 ไม่รวมถึง มาตรา 7 (1) (1/1) และ (2) ทวิ

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 10
-          ข้อสอบความรู้ ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 00 ประจำปี พ.ศ. 0000 ข้อ 0
-       ข้อสอบคัดเลือก ผู้พิพากษา พ.ศ.2511 ข้อ 9 การนัดหยุดงานในประเทศฝรั่งเศส แดงคนไทย ร่วมกับกรรมกรฝรั่งเศส ถอดเบรกรถยนต์โดยสาร / ทำให้รถยนต์อยู่ในลักษณะที่จะเกิดอันตราย เป็นเหตุให้รถยนต์เหล่านั้นเกิดอุบัติเหตุ รถชน มีคนได้รับบาดเจ็บ ศาลฝรั่งเศสพิพากษาจำคุกนายแดง 6 เดือน นายแดงรับโทษได้ 3 เดือน ก็หนีกลับประเทศไทย รัฐบาลฝรั่งเศสร้องขอให้รัฐบาลไทยฟ้อง ศาลไทยจะให้นายแดงรับโทษ ในราชอาณาจักร เพราะเหตุการกระทำผิดนอกราชอาณาจักรอีก ได้หรือไม่ เพียงใด Ø ศาลไทยพิพากษาให้นายแดงรับโทษในราชอาณาจักรได้ ตาม มาตรา 8 ก เพราะเป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 232 (2) และลงโทษได้ตาม มาตรา 10 วรรคท้าย เพราะนายแดงยังไม่พ้นโทษ แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ โดยคำนึงถึงโทษที่นายแดงได้รับมาแล้ว

-       ข้อสอบคัดเลือก พนักงานอัยการ พ.ศ.2526 ข้อ 6 จอนแอบเอาเอกสารเกี่ยวกับความมั่นคง ที่สถานทูตไทยในสหรัฐ ไป รับโทษครบแล้ว เข้ามาไทย ผิด มาตรา 123 ศาลลงโทษได้อีก มาตรา 10 ไม่คลุมถึง มาตรา 7 (1) ด้วย (ถ้ายังไม่รับโทษ มาตรา 188 ลงโทษในไทยไม่ได้ ตาม มาตรา 4 - 8 ส่วน มาตรา 334 ต้องอาศัย มาตรา 8)
-       ข้อสอบคัดเลือก พนักงานอัยการ พ.ศ.2536 ข้อ 4 คนไทยตีเพื่อนบ้านฟันหัก ฟันที่เหลือเคี้ยวอาหารไม่ได้ เหตุเกิดที่สหรัฐ รับโทษบางส่วนแล้วหนีมาไทย สหรัฐขอให้ลงโทษ Ø ผิด มาตรา 297 (3) รับโทษในประเทศได้ตาม มาตรา 8 (1) รับโทษแล้วบางส่วน ศาลลงโทษน้อยหรือไม่ลงเลยได้ มาตรา 10 วรรค ท้าย
-       ข้อสอบคัดเลือก พนักงานอัยการ พ.ศ.2542 ข้อ 1 ปลอมเงินไทย ในจีน ปอ มาตรา 240 + มาตรา 7 (2) รับโทษแล้วยังไม่ครบ ศาลไทยลงได้ มาตรา 10 วรรค 2Ø ปลอมดอลล่าในไทย มาตรา 240 + 247 รับโทษ มาตรา 4 กึ่งหนึ่งของ มาตรา 240

มาตรา 9 เจ้าพนักงานกระทำผิดนอกราชอาณาจักร

มาตรา 9  เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทยกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 147 ถึงมาตรา 166  และมาตรา 200 ถึงมาตรา 205 นอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร



-          เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทย ไม่มีสัญชาติไทยก็ลงโทษได้ (อ เกียรติขจร /46)
-       หากไม่ใช่เจ้าพนักงาน แต่ เป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงาน ลงโทษในประเทศ ไม่ได้ เช่น เจ้าพนักงาน รับสินบน นอกประเทศ แม้ ร เป็น ผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ลงโทษตาม มาตรา 8 ไม่ได้ เพราะ มาตรา 8 ไม่มี มาตรา 149 และ ร ไม่ใช่เจ้าพนักงาน แต่ลงโทษเจ้าพนักงานได้ ตาม มาตรา 9 (อ เกียรติขจร /47)
-       มาตรา 9 เรื่องเจ้าพนักงานกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร ไม่ใช้กับกรณีเข้า มาตรา 4 วรรค 2 (การกระทำผิด ในเรือไทยหรืออากาศยาน) , มาตรา 5 (การกระทำส่วนหนึ่ง ในราชอาณาจักร หรือ ผลการกระทำเกิดในราชอาณาจักรฯ การตระเตรียมหรือพยายามกระทำการ ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด อันจะเกิดผลในราชอาณาจักร) และ มาตรา 6 (กระทำของตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ถึงขั้นกระทำการ หรือถือว่ากระทำในราชอาณาจักร ตามกฎหมาย) เพราะ กรณีเหล่านี้ กฎหมาย "ให้ถือว่ากระทำในราชอาณาจักรสามารถลงโทษผู้กระทำผิด ได้ตาม มาตรา 4 วรรคแรกโดยตรง

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 9
-       & เจ้าพนักงานไทย ยักยอกทรัพย์ของเอกชน ที่ "นอกประเทศ" เป็นความผิดตาม มาตรา 147 และ 352 ต่อมาถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ที่ "นอกประเทศ" จึงจ่ายเงินสินบนแก่กรรมการสอบสวนวินัย "นอกประเทศ" ให้แจ้งทำรายงานการสอบสวนวินัยเป็นเท็จ เสนอหน่วยงานต้นสังกัด "ในประเทศ" กรรมการสอบสวนวินัยจึงทำรายงานเท็จ Ø ความผิดตามมาตรา 147 ลงโทษ "ในประเทศ" ได้ตามมาตรา 9 Ø ส่วนความผิดตามมาตรา 352 ลงโทษ "ในประเทศ" ได้ตามเงื่อนไข มาตรา 8 คือ เอกชนผู้เสียหายร้องขอให้ลงโทษ Ø ความผิดตามมาตรา 144 กระทำ "นอกประเทศ" ลงโทษ "ในประเทศ" ไม่ได้ ไม่เข้ามาตรา 8 เพราะไม่ใช่ข้อหาที่ระบุไว้ และไม่เข้ามาตรา 9 เพราะไม่ใช่ข้อหาที่ระบุไว้ Ø ความผิดตามมาตรา 137 + 161 ข้อหาเป็นผู้ใช้ให้แจ้งข้อความเท็จ และเป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ ลงโทษเจ้าพนักงานไทย ผู้ให้สินบน "ในประเทศ" ได้ ตามมาตรา 6 เพราะมีการกระทำของกรรมการสอบสวนวินัย "ในประเทศ" หากกรรมการสอบสวนวินัย ไม่ยอมทำรายงานเท็จ ไม่เข้ามาตรา 6



มาตรา 8 ทำผิดนอกราชอาณาจักรและคนไทยเกี่ยวข้องด้วย

มาตรา 8  ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร และ
() ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
() ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
ถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร คือ
(1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 217 มาตรา 218 มาตรา 221 ถึงมาตรา 223  ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับมาตรา 220 วรรคแรก และมาตรา 224 มาตรา 226 มาตรา 228ถึงมาตรา 232 มาตรา 237 และมาตรา 233 ถึงมาตรา 236 ทั้งนี้ เฉพาะเมื่อเป็นกรณีต้องระวางโทษตามมาตรา 238
(2) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 มาตรา 265มาตรา 266(1) และ (2) มาตรา 268  ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับมาตรา 267และมาตรา 269
(3) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 280และมาตรา 285 ทั้งนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา 276
(4) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 ถึงมาตรา 290
(5) ความผิดต่อร่างกาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 295 ถึงมาตรา 298
(6) ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 ถึงมาตรา 308
(7) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 มาตรา 310มาตรา 312 ถึงมาตรา 315 และมาตรา 317 ถึงมาตรา 320
(8) ความผิดฐานลักทรัพย์ และวิ่งราวทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334ถึงมาตรา 336
(9) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 337 ถึงมาตรา 340
(10) ความผิดฐานฉ้อโกง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 341 ถึงมาตรา 344มาตรา 346 และมาตรา 347
(11) ความผิดฐานยักยอก ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 352 ถึงมาตรา 354
(12) ความผิดฐานรับของโจร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 357
(13) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 358 ถึงมาตรา 360


-          สรุป (อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ..2538)
-          มาตรา 8 ต้องมีการร้องขอ แม้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน (อ เกียรติขจร /45)
-          แม้ในประเทศที่มีการทำผิดจะไม่ถือว่าเป็นความผิด ก็ขอให้ลงโทษได้ (อ เกียรติขจร /45)
-          โจทก์ไม่ต้องสืบว่าเป็นความผิดในประเทศที่ทำผิด ฎ 458/2503 (อ เกียรติขจร /46)
-          มาตรา 8 ไม่ใช้กับกรณีเข้า มาตรา 4 วรรค 2 (อ เกียรติขจร /45)
-       มาตรา 8 ใช้กับ ทุกกรณี ของมาตรา 83 - 87 (ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน) ซึ่งกระทำนอกราชอาณาจักร เช่น คนไทย อยู่นอกประเทศ ใช้ผู้อื่น ให้ฆ่าคนไทยในประเทศ (มาตรา 289 (4)) & หากผู้ถูกใช้ยังไม่ได้ทำ ลงโทษตาม มาตรา 6 ไม่ได้ แต่ขอให้ลงโทษผู้ใช้ตาม มาตรา 8 ซึ่งกระทำการ "ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด" "ในต่างประเทศ" ได้ (เพราะ มาตรา 6 ใช้เมื่อการกระทำของตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ถึงขั้นกระทำการ หรือถือว่ากระทำในราชอาณาจักร ตามกฎหมายแล้ว และหากเข้าเงื่อนไขดังกล่าว ก็ใช้มาตรา 6 ลงโทษผู้กระทำผิดที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้โดยตรง ซึ่งต่างกับ มาตรา 8 ตรงที่ มาตรา 6 ผู้กระทำผิดต้องรับโทษ แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องขอให้ลงโทษ)
-       การลงโทษในความผิดฐานรับของโจร หากความผิดเดิม ทำนอกประเทศ แต่ความผิดฐานรับของโจร ทำ ในประเทศ ลงโทษ มาตรา 357 ใน ประเทศ ได้ตาม มาตรา 4 วรรค 1 เฉพาะความผิดเดิม ลงโทษใน ประเทศ ได้ (ความเห็น อก/48) หากความผิดเดิมทำใน ประเทศ แต่ ความผิดฐานรับของโจร ทำนอกประเทศ ลงโทษฐานรับของโจร ในประเทศ ได้ตามเงื่อนไข มาตรา 8 (ความเห็น อก/49) แต่คำพิพากษาฎีกาที่ 3795-3796/2538 วินิจฉัยว่าลงโทษข้อหารับของโจร ในราชอาณาจักรได้

-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8
-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ไม่มีข้อหาความผิดต่อเจ้าพนักงาน และตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฯลฯ ตั้งแต่มาตรา 107 - 135 , 136 - 216
-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ไม่มีข้อหาความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ข้อหาชิงทรัพย์ ตามมาตรา 339 และปล้นทรัพย์ ตามมาตรา 340 ไม่รวมเหตุฉกรรจ์ มาตรา 340 ตรี
-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ไม่มีข้อหาโกงเจ้าหนี้
-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 รวมถึงการกระทำที่เป็นความผิดสำเร็จ และการพยายามกระทำความผิด และรวมถึงตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุนด้วย

-          การร้องขอให้ลงโทษผู้กระทำผิด ตามมาตรา 8
-       ข้อสอบความรู้ ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 53 ประจำปี พ.ศ. 2543 ข้อ 1 นางเดือนกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรและเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 7 (2 ทวิ) นางเดือนจึงต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามมาตรา 7 อนึ่ง แม้ทางการประเทศญี่ปุ่นจะได้แจ้งให้ตำรวจไทยทราบอันถือว่าเป็นการร้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 8 () แต่ความผิดที่นางเตือนกระทำนั้นมิใช่ความผิดที่ระบุไว้ในวรรคสองของมาตรา 8 ดังนั้น นางเดือนจึงไม่ต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามมาตรา 8

-          คำพิพากษาฎีกา มาตรา 8
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 801/2505 คดีที่จำเลยเป็นคนสัญชาติไทย การกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์นอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจำเลยภายในราชอาณาจักรตาม มาตรา 8 นั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบ แสดงว่าไม่มีข้อห้ามมิให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 10 อีก เว้นแต่จำเลยจะโต้เถียง
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 1289/2521 ผู้จัดการธนาคารไทยสาขาไทเป มอบเงินให้จำเลย ซึ่งเป็นคนไทยและเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ และรักษาการผู้ช่วยสมุห์บัญชีนำเงินของธนาคารไปฝากธนาคารอื่น จำเลยเป็นผู้ครอบครองเงินนั้น จำเลยถอนเงินไปโดยทุจริต มีความผิดตาม ม.354 ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไว้วางใจของประชาชน ธนาคารเป็นผู้เสียหายร้องทุกข์ได้และลงโทษในศาลไทยได้
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 6516/2537 ความผิดฐานปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นเกิดขึ้น ในทะเลหลวงนอกราชอาณาจักรศาลไทย จะลงโทษผู้กระทำผิดที่เป็นคนไทยในข้อหาความผิดต่อชีวิตตามมาตรา 8 (4) ได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 8 (ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายเป็นใคร และไม่ปรากฏว่าจะมีผู้ใดซึ่งสามารถจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ดำเนินการร้องขอให้ศาลไทยลงโทษ จึงลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นไม่ได้ & คดีนี้มีผู้เสียหายบางส่วน ที่ยังไม่เสียชีวิต ร้องขอให้ลงโทษในคดีเดียวกัน เป็นข้อหาปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสี่ได้ (& จำเลยต้องรับโทษ ในข้อหาปล้นทรัพย์ เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 340 วรรค 5 ตาม มาตรา 7 (3) แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องในเหตุฉกรรจ์ ว่าการปล้นทรัพย์ เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 340 วรรค 5 คดีนี้ ลงโทษได้เพียง ข้อหาปล้นทรัพย์ มาตรา 340 & ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ข้อหาชิงทรัพย์ ตามมาตรา 339 และปล้นทรัพย์ ตามมาตรา 340 ไม่รวมเหตุฉกรรจ์ มาตรา 340 ตรี )
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 3795-3796/2538 (คำบรรยายเนติบัณฑิตย์ ครั้ง 3) ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้ว ว่าเงินที่ได้รับมาจาก ก. เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานฉ้อโกง ในประเทศญี่ปุ่น ความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศญี่ปุ่น มีหลักเช่นเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกง และรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในประเทศไทย รับเอาทรัพย์สินอันได้มาด้วยการกระทำผิดฐานฉ้อโกง ที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีความผิดตามฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357
-       คำวินิจฉัยข้อหารือ /2516 (ประมวลข้อหารือและคำสั่ง เล่ม 2 รตท.ไชยยันฯ) คนไทยข้ามไปงานเทศกาลฝั่งลาว ทางด้านจังหวัดหนองคาย ทหารลาวยิงปืนขึ้นฟ้าในงานเทศกาล ถูกคนไทยตาย พนักงานสอบสวน อำเภอบึงกาฬ ขออนุญาตอธิบดีกรมอัยการ ทำการสอบสวน ตาม ปวิอ มาตรา 22 / ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ที่กระทำนอกราชอาณาจักร หาต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร ตาม มาตรา 7 , 8 ไม่ จึงไม่อยู่ในอำนาจที่อธิบดีกรมอัยการจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 8
-       ข้อสอบคัดเลือก ผู้พิพากษา พ.ศ.2524 ข้อ 10 นายโซ๊ะ เลาะ และคนไทยสามคน สมคบกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยเข้าช่องทางฯ ผิด มาตรา 210 แม้โซ๊ะ เลาะ เป็นคนต่างด้าว แต่ทำผิดในประเทศไทย ต้องรับโทษในไทยตาม มาตรา 4 / คนไทยสามคนผิด มาตรา 334 วรรค 2 แม้ทำผิดนอกประเทศ ต้องรับโทษในไทย เพราะรัฐบาลมาเลร้องขอ ตาม มาตรา 8 รับโทษ ตาม มาตรา 335 วรรค 2 ในไทย Ø นายเลาะคนต่างด้าว ผิดฐานสนับสนุนลักทรัพย์ แต่เป็นการทำผิดนอกประเทศ คนไทยหรือรัฐบาลไทยไม่ใช่ผู้เสียหาย นายเลาะไม่ต้องรับโทษตาม มาตรา 8 Ø นายโซ๊ะ แม้ไม่มีส่วนลักทรัพย์ แต่อยู่ในที่ประชุมซ่องโจรและไม่คัดค้านต้องรับโทษตาม มาตรา 335 วรรค 2 ตาม มาตรา 213 ส่วนนายเลาะ เป็นผู้สนับสนุนแล้ว ไม่อยู่ในความประสงค์ของ มาตรา 213 ที่จะต้องรับผิดตาม มาตรานี้อีก
-       ข้อสอบคัดเลือก ผู้พิพากษา พ.ศ.2531 ข้อ 1 คนไทย อยู่บนเรือในพม่า กำลังจะเข้าไทย ถูกพม่ายิงตาย น้องชายแจ้งความที่ตาก ลงโทษพม่า Ø มาตรา 8 2 (4) ต้องรับโทษในราชอาณาจักร มาตรา 8 () แต่น้องชายไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่อาจลงโทษได้จนกว่าผู้เสียหายหรือรัฐบาลไทยร้องขอ
-       & คนไทย ถูกคนต่างด้าวทำร้าย ที่นอกประเทศ แล้วคนไทยเข้ามาร้องทุกข์แจ้งความเท็จ ให้ดำเนินคดีกับคนต่างด้าวในประเทศ (เช่น ถูกทำร้าย แจ้งความว่าถูกปล้นทรัพย์ แม้เป็นแจ้งความเท็จ มาตรา 173 + 174 + 181 ก็เป็นการร้องขอให้ลงโทษผู้กระทำผิด ตามมาตรา 8 แล้ว)