จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

มาตรา 8 ทำผิดนอกราชอาณาจักรและคนไทยเกี่ยวข้องด้วย

มาตรา 8  ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร และ
() ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
() ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
ถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร คือ
(1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 217 มาตรา 218 มาตรา 221 ถึงมาตรา 223  ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับมาตรา 220 วรรคแรก และมาตรา 224 มาตรา 226 มาตรา 228ถึงมาตรา 232 มาตรา 237 และมาตรา 233 ถึงมาตรา 236 ทั้งนี้ เฉพาะเมื่อเป็นกรณีต้องระวางโทษตามมาตรา 238
(2) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 มาตรา 265มาตรา 266(1) และ (2) มาตรา 268  ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับมาตรา 267และมาตรา 269
(3) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 280และมาตรา 285 ทั้งนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา 276
(4) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 ถึงมาตรา 290
(5) ความผิดต่อร่างกาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 295 ถึงมาตรา 298
(6) ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 ถึงมาตรา 308
(7) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 มาตรา 310มาตรา 312 ถึงมาตรา 315 และมาตรา 317 ถึงมาตรา 320
(8) ความผิดฐานลักทรัพย์ และวิ่งราวทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334ถึงมาตรา 336
(9) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 337 ถึงมาตรา 340
(10) ความผิดฐานฉ้อโกง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 341 ถึงมาตรา 344มาตรา 346 และมาตรา 347
(11) ความผิดฐานยักยอก ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 352 ถึงมาตรา 354
(12) ความผิดฐานรับของโจร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 357
(13) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 358 ถึงมาตรา 360


-          สรุป (อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ..2538)
-          มาตรา 8 ต้องมีการร้องขอ แม้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน (อ เกียรติขจร /45)
-          แม้ในประเทศที่มีการทำผิดจะไม่ถือว่าเป็นความผิด ก็ขอให้ลงโทษได้ (อ เกียรติขจร /45)
-          โจทก์ไม่ต้องสืบว่าเป็นความผิดในประเทศที่ทำผิด ฎ 458/2503 (อ เกียรติขจร /46)
-          มาตรา 8 ไม่ใช้กับกรณีเข้า มาตรา 4 วรรค 2 (อ เกียรติขจร /45)
-       มาตรา 8 ใช้กับ ทุกกรณี ของมาตรา 83 - 87 (ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน) ซึ่งกระทำนอกราชอาณาจักร เช่น คนไทย อยู่นอกประเทศ ใช้ผู้อื่น ให้ฆ่าคนไทยในประเทศ (มาตรา 289 (4)) & หากผู้ถูกใช้ยังไม่ได้ทำ ลงโทษตาม มาตรา 6 ไม่ได้ แต่ขอให้ลงโทษผู้ใช้ตาม มาตรา 8 ซึ่งกระทำการ "ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด" "ในต่างประเทศ" ได้ (เพราะ มาตรา 6 ใช้เมื่อการกระทำของตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ถึงขั้นกระทำการ หรือถือว่ากระทำในราชอาณาจักร ตามกฎหมายแล้ว และหากเข้าเงื่อนไขดังกล่าว ก็ใช้มาตรา 6 ลงโทษผู้กระทำผิดที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้โดยตรง ซึ่งต่างกับ มาตรา 8 ตรงที่ มาตรา 6 ผู้กระทำผิดต้องรับโทษ แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องขอให้ลงโทษ)
-       การลงโทษในความผิดฐานรับของโจร หากความผิดเดิม ทำนอกประเทศ แต่ความผิดฐานรับของโจร ทำ ในประเทศ ลงโทษ มาตรา 357 ใน ประเทศ ได้ตาม มาตรา 4 วรรค 1 เฉพาะความผิดเดิม ลงโทษใน ประเทศ ได้ (ความเห็น อก/48) หากความผิดเดิมทำใน ประเทศ แต่ ความผิดฐานรับของโจร ทำนอกประเทศ ลงโทษฐานรับของโจร ในประเทศ ได้ตามเงื่อนไข มาตรา 8 (ความเห็น อก/49) แต่คำพิพากษาฎีกาที่ 3795-3796/2538 วินิจฉัยว่าลงโทษข้อหารับของโจร ในราชอาณาจักรได้

-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8
-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ไม่มีข้อหาความผิดต่อเจ้าพนักงาน และตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฯลฯ ตั้งแต่มาตรา 107 - 135 , 136 - 216
-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ไม่มีข้อหาความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ข้อหาชิงทรัพย์ ตามมาตรา 339 และปล้นทรัพย์ ตามมาตรา 340 ไม่รวมเหตุฉกรรจ์ มาตรา 340 ตรี
-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ไม่มีข้อหาโกงเจ้าหนี้
-          ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 รวมถึงการกระทำที่เป็นความผิดสำเร็จ และการพยายามกระทำความผิด และรวมถึงตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุนด้วย

-          การร้องขอให้ลงโทษผู้กระทำผิด ตามมาตรา 8
-       ข้อสอบความรู้ ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 53 ประจำปี พ.ศ. 2543 ข้อ 1 นางเดือนกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรและเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 7 (2 ทวิ) นางเดือนจึงต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามมาตรา 7 อนึ่ง แม้ทางการประเทศญี่ปุ่นจะได้แจ้งให้ตำรวจไทยทราบอันถือว่าเป็นการร้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 8 () แต่ความผิดที่นางเตือนกระทำนั้นมิใช่ความผิดที่ระบุไว้ในวรรคสองของมาตรา 8 ดังนั้น นางเดือนจึงไม่ต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามมาตรา 8

-          คำพิพากษาฎีกา มาตรา 8
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 801/2505 คดีที่จำเลยเป็นคนสัญชาติไทย การกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์นอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจำเลยภายในราชอาณาจักรตาม มาตรา 8 นั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบ แสดงว่าไม่มีข้อห้ามมิให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 10 อีก เว้นแต่จำเลยจะโต้เถียง
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 1289/2521 ผู้จัดการธนาคารไทยสาขาไทเป มอบเงินให้จำเลย ซึ่งเป็นคนไทยและเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ และรักษาการผู้ช่วยสมุห์บัญชีนำเงินของธนาคารไปฝากธนาคารอื่น จำเลยเป็นผู้ครอบครองเงินนั้น จำเลยถอนเงินไปโดยทุจริต มีความผิดตาม ม.354 ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไว้วางใจของประชาชน ธนาคารเป็นผู้เสียหายร้องทุกข์ได้และลงโทษในศาลไทยได้
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 6516/2537 ความผิดฐานปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นเกิดขึ้น ในทะเลหลวงนอกราชอาณาจักรศาลไทย จะลงโทษผู้กระทำผิดที่เป็นคนไทยในข้อหาความผิดต่อชีวิตตามมาตรา 8 (4) ได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 8 (ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายเป็นใคร และไม่ปรากฏว่าจะมีผู้ใดซึ่งสามารถจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ดำเนินการร้องขอให้ศาลไทยลงโทษ จึงลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นไม่ได้ & คดีนี้มีผู้เสียหายบางส่วน ที่ยังไม่เสียชีวิต ร้องขอให้ลงโทษในคดีเดียวกัน เป็นข้อหาปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสี่ได้ (& จำเลยต้องรับโทษ ในข้อหาปล้นทรัพย์ เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 340 วรรค 5 ตาม มาตรา 7 (3) แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องในเหตุฉกรรจ์ ว่าการปล้นทรัพย์ เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 340 วรรค 5 คดีนี้ ลงโทษได้เพียง ข้อหาปล้นทรัพย์ มาตรา 340 & ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ข้อหาชิงทรัพย์ ตามมาตรา 339 และปล้นทรัพย์ ตามมาตรา 340 ไม่รวมเหตุฉกรรจ์ มาตรา 340 ตรี )
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 3795-3796/2538 (คำบรรยายเนติบัณฑิตย์ ครั้ง 3) ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้ว ว่าเงินที่ได้รับมาจาก ก. เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานฉ้อโกง ในประเทศญี่ปุ่น ความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศญี่ปุ่น มีหลักเช่นเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกง และรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในประเทศไทย รับเอาทรัพย์สินอันได้มาด้วยการกระทำผิดฐานฉ้อโกง ที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีความผิดตามฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357
-       คำวินิจฉัยข้อหารือ /2516 (ประมวลข้อหารือและคำสั่ง เล่ม 2 รตท.ไชยยันฯ) คนไทยข้ามไปงานเทศกาลฝั่งลาว ทางด้านจังหวัดหนองคาย ทหารลาวยิงปืนขึ้นฟ้าในงานเทศกาล ถูกคนไทยตาย พนักงานสอบสวน อำเภอบึงกาฬ ขออนุญาตอธิบดีกรมอัยการ ทำการสอบสวน ตาม ปวิอ มาตรา 22 / ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ที่กระทำนอกราชอาณาจักร หาต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร ตาม มาตรา 7 , 8 ไม่ จึงไม่อยู่ในอำนาจที่อธิบดีกรมอัยการจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 8
-       ข้อสอบคัดเลือก ผู้พิพากษา พ.ศ.2524 ข้อ 10 นายโซ๊ะ เลาะ และคนไทยสามคน สมคบกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยเข้าช่องทางฯ ผิด มาตรา 210 แม้โซ๊ะ เลาะ เป็นคนต่างด้าว แต่ทำผิดในประเทศไทย ต้องรับโทษในไทยตาม มาตรา 4 / คนไทยสามคนผิด มาตรา 334 วรรค 2 แม้ทำผิดนอกประเทศ ต้องรับโทษในไทย เพราะรัฐบาลมาเลร้องขอ ตาม มาตรา 8 รับโทษ ตาม มาตรา 335 วรรค 2 ในไทย Ø นายเลาะคนต่างด้าว ผิดฐานสนับสนุนลักทรัพย์ แต่เป็นการทำผิดนอกประเทศ คนไทยหรือรัฐบาลไทยไม่ใช่ผู้เสียหาย นายเลาะไม่ต้องรับโทษตาม มาตรา 8 Ø นายโซ๊ะ แม้ไม่มีส่วนลักทรัพย์ แต่อยู่ในที่ประชุมซ่องโจรและไม่คัดค้านต้องรับโทษตาม มาตรา 335 วรรค 2 ตาม มาตรา 213 ส่วนนายเลาะ เป็นผู้สนับสนุนแล้ว ไม่อยู่ในความประสงค์ของ มาตรา 213 ที่จะต้องรับผิดตาม มาตรานี้อีก
-       ข้อสอบคัดเลือก ผู้พิพากษา พ.ศ.2531 ข้อ 1 คนไทย อยู่บนเรือในพม่า กำลังจะเข้าไทย ถูกพม่ายิงตาย น้องชายแจ้งความที่ตาก ลงโทษพม่า Ø มาตรา 8 2 (4) ต้องรับโทษในราชอาณาจักร มาตรา 8 () แต่น้องชายไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่อาจลงโทษได้จนกว่าผู้เสียหายหรือรัฐบาลไทยร้องขอ
-       & คนไทย ถูกคนต่างด้าวทำร้าย ที่นอกประเทศ แล้วคนไทยเข้ามาร้องทุกข์แจ้งความเท็จ ให้ดำเนินคดีกับคนต่างด้าวในประเทศ (เช่น ถูกทำร้าย แจ้งความว่าถูกปล้นทรัพย์ แม้เป็นแจ้งความเท็จ มาตรา 173 + 174 + 181 ก็เป็นการร้องขอให้ลงโทษผู้กระทำผิด ตามมาตรา 8 แล้ว)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น