จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

มาตรา 17 การใช้ ป.อาญา กับ กม.อื่น

มาตรา 17                บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น




-       มาตรา 17         การใช้ประมวลกฎหมายอาญา กับกฎหมายอื่น เกี่ยวกับการริบทรัพย์
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 485/2493 ฟ้องคดีอาญานั้น กฎหมายบังคับให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บัญญัติให้อ้างบทมาตราที่บัญญัติให้ริบของกลางด้วยไม่ ฉะนั้นแม้จะไม่ได้อ้างมา ศาลก็มีอำนาจริบได้ในเมื่อโจทก์มีคำขอไว้แล้ว þ ...มาตราชั่วตวงวัด ได้มีบทบัญญัติในเรื่องการริบและการยึดไว้แล้ว ดังจะเห็นได้ตามมาตรา 24 และ 38 ย่อมเห็นเจตนารมย์ของ พ...นี้ได้ว่า ไม่ประสงค์ที่จะให้นำมาตรา 27, 28 แห่งก..ลักษณะอาญามาใช้บังคับแก่กระทำผิดใด ๆ ตาม พ...นี้อีก ในเมื่อการกระทำนั้น ๆ ไม่เป็นผิดตาม ก..ลักษณะอาญาด้วย
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 176/2506 การสั่งริบไม้ของกลางในความผิดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญา / ขนไม้ท่อนอันเป็นไม้หวงห้าม ไม่มีรอยตราที่กฎหมายระบุไว้บรรทุกรถยนต์มาจากป่า อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 69 รถยนต์ที่ใช้ขนไม้ ย่อมเป็นยานพาหนะ ซึ่งได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดต้องริบตาม มาตรา 74 ทวิ.
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 1810/2517 þ พ.ร.บ.ป่าไม้ มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา บุคคลภายนอกคดีย่อมใช้สิทธิตาม มาตรา 36 ขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ถูกริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ได้
-       คำพิพากษาฎีกาที่ 3118/2528 þ แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแล้ว ศาลก็นำ ป.อ. ม.33 มาใช้บังคับในการที่จะริบทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดได้ ตาม ป.อ. ม.17 ซึ่งตาม ม.33 เป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของศาล เมื่อบรรทุกเกินปริมาณที่กฎหมายอนุญาตเพียงเล็กน้อย จึงไม่ควรริบรถยนต์ของกลาง / รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ฟืน ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามเกินประมาณที่กฎหมายอนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.29 ทวิ ศาลจะสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.74 ทวิ ไม่ได้ เพราะ ม.74 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติให้ริบทรัพย์ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม ม.29 ทวิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น